header



สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ วันนี้พิมจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวบ้านเมืองอาง ซึ่งเป็นสถานที่ปลูกผักอินทรีย์ของมูลนิธิโครงการหลวงกันบ้างนะคะ 

บ้านเมืองอางเป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าปกากะญอ  ที่อยู่ในตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทองจังหวัดเชียงใหม่ค่ะ  โดยตัวหมู่บ้านจะอยู่ประมาณ กม. ที่ 13 เลี้ยวขวา เข้าไปประมาณ 12 กิโลเมตรนะคะ 

เดิมบ้านเมืองอาง ก็เป็นหมู่บ้านที่ปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์แบบชาวเขาปกติทั่วไป  แต่ว่ามูลนิธิโครงการหลวงที่อยู่ในเขตอินทนนท์ อยากจะช่วยพัฒนาชีวิตของชาวเขาในละแวกนี้ให้ดีขึ้น จึงมาแนะนำชาวบ้านที่นี่ให้ปลูกผักแบบปลอดสารแทนการปลูกผักแบบเดิมค่ะ ^_^

organic vegetable muangarng 13

การเข้าไปยี่ยมชมการปลูกผักอินทรีย์ของบ้านเมืองอางเนี่ย  จะว่าไปแล้วใครๆ  ก็เข้าไปเยี่ยมชมได้นะคะ    เพียงแต่ว่าก่อนเข้าไปจะต้องติดต่อที่โครงการหลวงก่อน เพราะโครงการหลวงจะเป็นหน่วยงานที่ดูแลบ้านเมืองอางอีกทีน่ะค่ะ    และรถที่สามารถเข้าไปบ้านเมืองอางได้ ก็จะต้องเป็นรถมอเตอร์ไซด์  ไม่ก็กระบะ หรือโฟร์วิลเท่านั้น เพราะเส้นทางค่อนข้างแคบและทุรดันการนิดนึง  เกินกว่ารถเก๋ง หรือรถตู้จะเข้าไปได้นะคะ 

organic vegetable muangarng 01

organic vegetable muangarng 02

พูดถึงการปลูกผักอินทรีย์ของโครงการหลวงแล้ว ... พิมก็อยากจะเล่าให้ฟังนิดค่ะว่า โครงการหลวงเริ่มโครงการปลูกผักอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2545 นะคะ  ซึ่งโครงการนี้จะเป็นโครงการที่เน้นการปลูกผักเมืองหนาว ให้เหมาะสมกับธรรมชาติและอากาศ  โดยการปลูกผักทั้งหมดจะไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช่เมล็ดพืชที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม ใช้ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน การปลูกพืชหมุนเวียน  และใช้ความได้เปรียบของพื้นที่สูงในการเพิ่มความทนทานต่อโรคและแมลงให้กับพืชที่ปลูกอีกด้วยอ่ะค่ะ 

organic vegetable muangarng 03

ซึ่งการปลูกผักอินทรีย์ของที่บ้านเมืองอาง ก็จะมีเจ้าหน้าที่จากโครงการหลวงเข้ามาวางแผนให้ตลอดทั้งปี ว่าเดือนนี้ๆ เกษตรกรครัวเรือนนี้จะปลูกผักอะไรนะคะ    โดยใน 1 ปี เกษตรกร 1 ครัวเรือน  (ทั้งหมดมี 121 ครัวเรือน)  จะปลูกผักทั้งหมด 8 ชนิด  (เดือนละ 1 ชนิด) หมุนเวียนกันไป   โดยจะมีทั้งผักแบบปลูกในโรงเรือน  เช่น กวางตุ้งฮ่องกง  ผักสลัด และผักแบบปลูกนอกโรงเรือนได้ เช่น เบบี้แครอท  ถั่วแขกด้วยอ่ะค่ะ

สำหรับการปลูกแบบโรงเรือน  โรงเรือนของที่นี่แต่ละหลังจะมีพื้นที่ประมาณ 180 ตารางเมตรนะคะ  โดยเกษตรกรครัวเรือนนึงจะปลูกกี่โรงเรือนก็ได้ ตามที่สะดวกอ่ะค่ะ   และผลิตผลของผักโดยทั่วไปต่อ 1 โรงเรือน จะอยู่ที่ประมาณ 200 กิโลกรัมต่อการเก็บ 1 ครั้งนะคะ  (1 ครั้ง คือ 1 รอบเดือน)   โดยผักที่ทางโครงการหลวงแนะนำให้ชาวบ้านปลูก  ก็จะเป็นผักอายุสั้น  ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเพาะกล้า 7 วัน และระยะเวลาในการปลูกไม่เกิน 21 วัน ค่ะ ^_^ 

organic vegetable muangarng 10

ในวันที่พิมเดินทางไปเนี่ย  ทางโครงการหลวงก็ได้พาพิมและคณะไปชมโรงเรือนปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรคนนึงนะคะ   ซึ่งตอนที่พิมไป โรงเรือนของพี่เค้ากำลังปลูกผักเบบี้กวางตุ้งที่กำลังเก็บเกี่ยวได้อยู่พอดีเลยอ่ะค่ะ

organic vegetable muangarng 07

01

พี่เค้าก็เล่าให้พิมและพวกเราฟังว่า ผักกวางตุ้งเนี่ยจะมีระยะเพาะกล้า คือนับตั้งแต่เพาะเม็ดลงกระบะจนเอาไปแยกปลูกได้ ที่ระยะเวลาประมาณ 7 วันนะคะ   โดยเกษตรกรของที่นี่ก็จะมาช่วยกันเพาะกล้าโดยไม่เกี่ยงว่าเป็นของเค้าหรือของเราอ่ะค่ะ   คือเค้าจะช่วยกันเพาะนับเป็นร้อย ๆ ถาดเลย   แต่ว่าที่ถาดเพาะแต่ละถาดก็จะมีรหัสประจำตัวเกษตรเขียนติดเอาไว้ เพื่อกันสับสนนะคะ 

organic vegetable muangarng 14

organic vegetable muangarng 15

และพอต้นกล้าเติบโตได้ที่  เกษตรกรผู้เป็นเจ้าของกระบะเพาะกล้านั้น ๆ ก็จะมาย้ายกล้าลงไปปลูกในแปลงในโรงเรือนของตัวเองอ่ะค่ะ 

organic vegetable muangarng 17

และในระหว่างปลูก  ชาวบ้านก็จะใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ (ที่มีอยู่ไม่มาก แต่ระบบการจัดการดี)   มารดน้ำต้นไม้โดยใช้ระบบสปริงเกอร์นะคะ   และก็จะไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการฉีดยาฆ่าแมลง   หากจะใส่ปุ๋ย ก็จะเป็นปุ๋ยอินทรีที่ชาวบ้านหมักจากขี้วัวขี้ควายที่ชาวบ้านเลี้ยงกันเองตามธรรมชาติอ่ะค่ะ  ........ และเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 21 วัน เราก็จะได้ผักเบบี้กวางตุ้งออกมางามอย่างในภาพด้านล่างนี้เลยนะคะ 

organic vegetable muangarng 08

organic vegetable muangarng 05

organic vegetable muangarng 16

ซึ่งในขั้นตอนการตัดผักเนี่ย ก็เหมือนขั้นตอนการเพาะกล้าค่ะ   หากโรงเรือนไหนถึงวันตัดผักได้ เกษตรกรคนอื่นๆ  ก็จะมารวมตัวช่วยกันตัดผัก ล้างผักนะคะ  ซึ่งในขั้นตอนการล้างเนี่ย เค้าก็จะล้างด้วยน้ำจากธรรมชาติที่กักเก็บเอาไว้ และล้างกันทุกซอทุกมุมของต้นผัก ก่อนจะนำไปส่งขายให้กับโครงการหลวง ก่อนที่โครงการหลวงจะไปจัดจำหน่ายต่ออ่ะค่ะ ^_^ 

organic vegetable muangarng 09

organic vegetable muangarng 12

สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่อยากไปชมการปลูกผักอินทรีย์แบบนี้ของชาวบ้านเมืองอางบ้าง  หรืออยากทราบว่าเดือนไหนชาวบ้านปลูกผักอะไรบ้าง  ก็สามารถติดต่อได้ที่โครงการหลวงเลยนะคะ  เบอร์โทร 053-286777 และ 053-286778 ....... สวัสดีค่ะ ^_^

organic vegetable muangarng 13



ครัวบ้านพิม on Facebook

สมาชิก